วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาชีพอิสระคืออะไร?

อาชีพอิสระในอาเซียน





หลายคนมีทัศนคติที่ไม่ดีกับผู้ที่ไม่ได้ทำงานมีเงินเดือนประจำ  ว่าดูไม่มีความมั่นคงในชีวิต  อาชีพอิสระเป็นงานที่ไม่มีความแน่นอน  ว่าแต่คุณรู้จักและเข้าใจคนที่ทำงานรับจ้าง คนทำอาชีพอิสระ และที่เรียกกันเก๋ๆว่า "ฟรีแลนซ์"  ดีแล้วหรือ ?
                การประกอบอาชีพอิสระ คือ "การประกอบกิจการหรือธุรกิจส่วนตัว"  ในการผลิตสินค้า หรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย  มีอิสระในการกำหนดรูปแบบและวิธีการดำเนินงานของตัวเองได้ตามความเหมาะสม ผลตอบแทนที่ได้รับคือกำไรที่ได้มาจากการลงทุน
                คำว่า "อาชีพอิสระได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆกัน  โดยมีระดับของเงื่อนไขมากน้อยต่างกันไป  อาทิเช่น
                อาชีพอิสระ  หมายถึง  อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียว  หรือเป็นกลุ่ม  อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก  แต่หากมีความจำเป็นอาจต้องมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้  เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน  และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่องซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทันต่อเหตุการณ์  การประกอบอาชีพอิสระ  เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ   ในการประกอบอาชีพอิสระ  ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องการบริหารจัดการ  เช่น  การตลาด  ทำเลที่ตั้ง  เงินทุน  การตรวจสอบและประเมินผล  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังต้องอดทนต่องานหนัก  ไม่ท้อถอยต่อปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  และมองเห็นภาพการดำเนินงานของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง
                อาชีพอิสระ  หมายถึง  อาชีพที่ประกอบกันเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนอบรมพอสมควร  เช่น  อาชีพทำของที่ละลึกด้วยวัสดุที่มีในท้องถิ่น  การปลูกผัก  การเลี้ยงปลา  การประกอบอาหาร  เป็นต้น  และผู้ประกอบการอิสระยังรวมถึง  ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมด้วย
                อาชีพอิสระ  หมายถึง  จัดเป็นอาชีพที่ดำเนินการเองได้โดยลงทุนน้อยใช้ความคิด  กำลังกายค่อนข้างมาก  เน้นการพึ่งตนเอง  คำว่าอาชีพอิสระมีความหมายคล้ายกับอาชีพส่วนตัว   ธุรกิจขนาดย่อม  การประกอบการขนาดย่อม  เป็นต้น 
                อาชีพอิสระ  หมายถึง  อาชีพส่วนตัวทั้งในภาคเศรษฐกิจที่เป็นระบบ (Formal  Sector)   และภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นระบบ (Informal  Sector)  เจ้าของกิจการเป็นผู้ประกอบการเองทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้  โดยได้ค่าตอบแทนเป็นรูปของกำไร  ไม่ใช่เงินเดือน
             นอกจากนี้  อาชีพอิสระยังหมายถึงธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชนเป็นเจ้าของ  ดำเนินการโดยเจ้าของเอง  ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใด  และไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของบุคคลอื่น  หรือธุรกิจอื่น
ดังนั้นอาชีพอิสระ  จึงหมายถึง  อาชีพที่มีลักษณะดังนี
1.   เป็นเจ้าของกิจการไม่เป็นลูกจ้าง  ไม่รับเงินเดือนจากนายจ้างแต่ได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้า
2.   เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน 
3. มีผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงาน  โดยอาจได้เงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นรายชิ้นก็ได้  จำนวนไม่เกิน 5 คน และใช้ทุนดำเนินการไม่เกิน 500,000  บาท
               อาชีพอิสระนี้ไม่สามารถแยกจากธุรกิจขนาดย่อมหรือการประกอบการขนาดย่อมได้ชัดเจน  เพราะมีความคล้ายคลึงและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคำจำกัดความของธุรกิจขนาดย่อม  ว่าเป็นธุรกิจที่เจ้าของเป็นผู้จัดการธุรกิจด้วยตนเอง  มีความอิสระ  ส่วนใหญ่อยู่ในท้องถิ่น  และอาศัยแหล่งทุนภายในในการขยายกิจการ
อีกความหมายหนึ่งของธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับการยอมรับ
1.    การบริหารงานเป็นอิสระ  เจ้าของเป็นผู้บริหารงานเอง
2.  บุคคลเดียวหรือกลุ่มเล็กๆ  กลุ่มหนึ่งจัดหาเงินทุนและเป็นเจ้าของธุรกิจ
 3.    ขอบเขตการดำเนินงานอยู่ในท้องถิ่นเป็นส่วนมาก  พนักงานและเจ้าของอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน  แต่ตลาดของสินค้าหรือบริการไม่จำเป็นต้องอยู่ในท้องถิ่นนั้นก็ได้
 4.  ธุรกิจมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในธุรกิจประเภทเดียวกัน  หลักเกณฑ์ที่ใช้วัดอาจจะเป็นจำนวนพนักงาน  ยอดขายหรือทรัพย์สิน
.           5.    การประกอบการขนาดย่อมมีลักษณะ 2 ประการ  เหมือนอาชีพอิสระ  กล่าวคือ  เป็นอาชีพที่เจ้าของไม่เป็นลูกจ้าง  ไม่รับเงินเดือนจากนายจ้าง  แต่ได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้า  และเจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน 5 คน และใช้ทุนดำเนินการไม่เกิน 500,000  บาท  แต่ไม่เกิน 600,000  บาท  
                      สำหรับคำว่า  ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ  หมายถึง  เจ้าของกิจการหรือผู้ที่ทำงานธุรกิจต่างๆนอกเหนือไปจากอาชีพลูกจ้าง  หนังงานราชการที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้างรายเดือนหรือรายวัน  รวมถึงผู้ที่ช่วยครอบครัวประกอบธุรกิจและได้รับค่าตอบแทนจากผลกำไร  หรืออาจมีความหมายว่า  หมายถึง  บุคคลที่เป็นเจ้าของธุรกิจ  ที่ประกอบอาชีพหารายได้เองโดยไม่มีนายจ้าง  ไม่อยู่ในฐานะลูกจ้าง  แต่เป็นนายตนเอง  เป็นเจ้าของกิจการและต้องปฏิบัติงานเอง  อาจมีผู้ปฏิบัติงานด้วยก็ได้
                แต่เนื่องจากการทำโครงการครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ผู้มีอายุระหว่าง  13-15 ปี  จึงได้กำหนดคำจำกัดความของอาชีพอิสระในความหมายกว้างว่าอาชีพอิสระหมายถึงอาชีพที่ผู้ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการเองทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้  โดยไม่รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะของเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ  และรับผิดชอบต่อการดำเนินงานในทั้งส่วนของกำไร  หรือขาดทุนโดยอาจมีผู้ช่วยปฏิบัติงานหรือไม่ก็ได้
การประกอบอาชีพอิสระ
                ความหมาย   การประกอบอาชีพอิสระ คือ  การประกอบกิจการส่วนตัวต่างๆ  ในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย  เป็นธุรกิจของตนเองไม่ว่ากิจนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม  มีอิสระในการกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินงานของตัวเองได้ตามความเหมาะสม  ไม่มีเงินเดือนหรือรายได้ที่แน่นอนผลตอบแทนที่ได้รับคือ  เงินกำไรจากการลงทุน
                1.  เป็นเจ้านายตนเอง  ใช้ความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่
                2.  กำหนดการทำงานเอง
                3.  รับผิดชอบกิจการเองทั้งหมด
                4.  สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆอย่างเต็มที่
                5.  รายได้ไม่จำกัด  (ทำมากรวยมาก  ทำน้อยรวยน้อย)
ข้อดีในการประกอบอาชีพอิสระ
  1.      เป็นเจ้านายของตนเอง
 2.       กำหนดแนวทางในการทำงานเองได้
 3.     มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆอย่างเต็มที่
4.    รายได้ไม่จำกัด
                อุปสรรคในการประกอบอาชีพอิสระ
การทำให้เกิดผู้ประกอบการอาชีพอิสระมากขึ้นต้องศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่เป็นอุปสรรคแล้วจึงหาทางแก้ไข  อุปสรรคในการประกอบอาชีพอิสระพอจำแนกได้เป็นอุปสรรคภายนอนและภายใน
                อุปสรรคภายใน
ได้แก่  ตัวบุคคล  เช่น ขาดความรู้ที่จะประกอบอาชีพ  เรียกว่าทำมาหากินไม่เป็น  ขาดการกระตือรือร้นที่จะประกอบอาชีพด้วยตนเอง  ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะของผู้ประกอบอาชีพอิสระที่จะประสบความสำเร็จจำเป็นจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1   ต้องเป็นคนที่สามารถทนทำงานหนักได้ทนมากกว่าคนปกติ
 2.    เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ
 3.  มีความเชื่อมั่นในตนเอง  และมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ได้
 4  ในการประกอบกิจการใดๆมักจะตั้งเป้าหมายสูง(แต่สามารถปฏิบัติได้)
5  ไม่เบื่อง่ายไม่ชอบทิ้งอะไรกลางคันเมื่อพบอุปสรรค
6   เห็นคุณค่าของเงิน
7   มีพลังการแก้ปัญหาอย่างไม่เสื่อมคลาย
8  ควรเสี่ยงอย่างมีเหตุผล
9   รู้จักใช้ความผิดแต่หนหลังเป็นบทเรียน
10  รู้จักใช้คำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นให้เป็นประโยชน์
11    มีความคิดริเริ่ม  และกล้าที่จะรับผิดชอบต่อความคิดริเริ่มนั้น
12.  รู้จักใช้ทรัยพากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประโยชน์มากที่สุด
13.  ในการทำงานต้องตั้งเกณฑ์สูงสุกเข้าไว้  และต้องทำให้ได้เสมอ
                        อุปสรรคภายนอก
ได้แก่องค์ประกอบที่จะช่วยส่งเสริมอำนวยความสะดวก  พื้นฐานของผู้อยากประกอบอาชีพอิสระได้แก่  ปัจจัยพื้นฐานของการประกอบการ  คือ  เงินทุน  การตลาด  แหล่งวัตถุดิบ  และการแข่งขัน

               ประเภทของอาชีพอิสร

ประเภทของอาชีพอิสระ

ประเภทของอาชีพอิสระ
                อาชีพอิสระแบ่งเป็น 4  ประเภทคือ                                                                                                                                      
1   ประเภทการผลิต   ผลิตอาหาร  ผลิตสิ่งประดิษฐ์  ผลิตของใช้ ฯลฯ
              2   ประเภทการบริการ  เช่น  บริการนวด  บริการแปลเอกสาร  บริการถ่ายเอกสาร  บริการซักรีด ฯลฯ
               3  ประเภทซื้อมาขายไป  ขายเสื้อผ้า  ขายอาหารสัตว์  ขายของกินของใช้ ฯลฯ
              4   ประเภทการเกษตร  เช่น  ปลูกผักผลไม้  เลี้ยงสัตว์ ประมง ฯลฯ 
                           คุณสมบัติผู้ประกอบอาชีพอิสระ
                ผู้ประกอบอาชีพอิสระควรมีคุณสมบัติดังนี้
1.             กล้าเสี่ยง    อาชีพอิสระเป็นการประกอบธุรกิจส่วนตัว  จึงต้องมีการลงทุน  ในขณะที่ถ้าเป็นลูกจ้างไม่ต้องลงทุนอะไร  ซึ่งการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง  เพราะไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร  ดังนั้น  ก่อนที่จะตกลงใจประกอบอาชีพใดจึงต้อง พิจารณา วิเคราะห์  และไตร่ตรองอย่างดีเสียก่อน 
2.             ความคิดสร้างสรรค์    การประกอบอาชีพอิสระมิได้ยึดติดกับรูปแบบใด  เนื่องจากผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องเป็นนายของตนเอง  ดังนั้น  จึงสามารถทำการปรับปรุงสินค้าหรือบริการได้อย่างมีอิสระ  เพื่อการดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไร  พลังวิริยะความเพียรในการทำงานให้สำเร็จ  ทั้งการลงทุน  การผลิต  การตลาด ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
3.             ความเชื่อมั่นในตนเอง  ผู้ประกอบอาชีพอิสระ  จะต้องมีความเชื่อมั่นในการดำเนินกิจการของตนเองให้อยู่รอด  และฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นได้
4.             ความอดทน  ผู้ประกอบการต้องพร้อมที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและนำมาแก้ไขด้วยความอดทน
5.             มีวินัยในตนเอง
6.             มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ
7.             มีความรอบรู้
8.             มีมนุษยสัมพันธ์
9.             มีความซื่อสัตย์
แปดอาชีพที่น่าสนใจ
   ในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558)  ที่จะถึงนี้ประเทศเราจะมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้น ซึ่งอาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association  for  Southeast  Asian  Nations)  ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา  
              สิบประเทศนี้ได้รวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือเสริมสร้างให้ภูมิภาคมีสันติภาพนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง  และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  อีกทั้งได้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN  Economic  Community: AEC)  เพื่อส่งเสริมให้เป็นตลาดและฐานผลิตเดียวที่มีการเคลื่อนย้านสินค้า  บริการ  และการลงทุน  แรงงานฝีมือ และเงินทุนอย่างเสรีภาพ  ทั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายให้เป็นปีที่มีลักษณะของการรวมกลุ่มประเทศเปลี่ยนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงาน  จะมีการถ่ายเทแรงงานด้านฝีมือเพื่อให้สามารถทำงานในประเทศสมาชิกง่ายขึ้นใน 8 สาขาอาชีพ  คือ 

  1. วิศวกรรม
  2. การสำรวจ
  3. สถาปัตยกรรม
  4. แพทย์
  5. ทันตแพทย์
  6. พยาบาล
  7. บัญชี
  8. การบริการ/การท่องเที่ยว
                          


 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ

โสภาพรรณ
  
อาชีพอิสระในอาเซียน. กรุงเทพฯ:  แสงดาว. 2556

296  หน้า 

1 . อาชีพอิสระ . / ชื่อเรื่อง