อาชีพอิสระในอาเซียน
หลายคนมีทัศนคติที่ไม่ดีกับผู้ที่ไม่ได้ทำงานมีเงินเดือนประจำ ว่าดูไม่มีความมั่นคงในชีวิต อาชีพอิสระเป็นงานที่ไม่มีความแน่นอน ว่าแต่คุณรู้จักและเข้าใจคนที่ทำงานรับจ้าง คนทำอาชีพอิสระ และที่เรียกกันเก๋ๆว่า "ฟรีแลนซ์" ดีแล้วหรือ ?
การประกอบอาชีพอิสระ
คือ "การประกอบกิจการหรือธุรกิจส่วนตัว" ในการผลิตสินค้า
หรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีอิสระในการกำหนดรูปแบบและวิธีการดำเนินงานของตัวเองได้ตามความเหมาะสม
ผลตอบแทนที่ได้รับคือกำไรที่ได้มาจากการลงทุน
คำว่า
"อาชีพอิสระ" ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆกัน โดยมีระดับของเงื่อนไขมากน้อยต่างกันไป อาทิเช่น
อาชีพอิสระ หมายถึง
อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียว หรือเป็นกลุ่ม
อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจต้องมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่องซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์
ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องการบริหารจัดการ เช่น
การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน
การตรวจสอบและประเมินผล
เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องอดทนต่องานหนัก ไม่ท้อถอยต่อปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงานของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง
อาชีพอิสระ หมายถึง
อาชีพที่ประกอบกันเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนอบรมพอสมควร เช่น
อาชีพทำของที่ละลึกด้วยวัสดุที่มีในท้องถิ่น การปลูกผัก
การเลี้ยงปลา การประกอบอาหาร เป็นต้น
และผู้ประกอบการอิสระยังรวมถึง
ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมด้วย
อาชีพอิสระ หมายถึง
จัดเป็นอาชีพที่ดำเนินการเองได้โดยลงทุนน้อยใช้ความคิด กำลังกายค่อนข้างมาก เน้นการพึ่งตนเอง คำว่าอาชีพอิสระมีความหมายคล้ายกับอาชีพส่วนตัว ธุรกิจขนาดย่อม
การประกอบการขนาดย่อม เป็นต้น
อาชีพอิสระ หมายถึง
อาชีพส่วนตัวทั้งในภาคเศรษฐกิจที่เป็นระบบ (Formal Sector) และภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นระบบ (Informal Sector)
เจ้าของกิจการเป็นผู้ประกอบการเองทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยได้ค่าตอบแทนเป็นรูปของกำไร ไม่ใช่เงินเดือน
นอกจากนี้
อาชีพอิสระยังหมายถึงธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใด และไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของบุคคลอื่น หรือธุรกิจอื่น
ดังนั้นอาชีพอิสระ จึงหมายถึง
อาชีพที่มีลักษณะดังนี
1. เป็นเจ้าของกิจการไม่เป็นลูกจ้าง ไม่รับเงินเดือนจากนายจ้างแต่ได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้า
2. เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
3. มีผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงาน โดยอาจได้เงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นรายชิ้นก็ได้ จำนวนไม่เกิน 5 คน และใช้ทุนดำเนินการไม่เกิน 500,000 บาท
1. เป็นเจ้าของกิจการไม่เป็นลูกจ้าง ไม่รับเงินเดือนจากนายจ้างแต่ได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้า
2. เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
3. มีผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงาน โดยอาจได้เงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นรายชิ้นก็ได้ จำนวนไม่เกิน 5 คน และใช้ทุนดำเนินการไม่เกิน 500,000 บาท
อาชีพอิสระนี้ไม่สามารถแยกจากธุรกิจขนาดย่อมหรือการประกอบการขนาดย่อมได้ชัดเจน เพราะมีความคล้ายคลึงและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคำจำกัดความของธุรกิจขนาดย่อม ว่าเป็นธุรกิจที่เจ้าของเป็นผู้จัดการธุรกิจด้วยตนเอง มีความอิสระ
ส่วนใหญ่อยู่ในท้องถิ่น
และอาศัยแหล่งทุนภายในในการขยายกิจการ
อีกความหมายหนึ่งของธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับการยอมรับ
1. การบริหารงานเป็นอิสระ เจ้าของเป็นผู้บริหารงานเอง
2. บุคคลเดียวหรือกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งจัดหาเงินทุนและเป็นเจ้าของธุรกิจ
3. ขอบเขตการดำเนินงานอยู่ในท้องถิ่นเป็นส่วนมาก พนักงานและเจ้าของอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน แต่ตลาดของสินค้าหรือบริการไม่จำเป็นต้องอยู่ในท้องถิ่นนั้นก็ได้
4. ธุรกิจมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในธุรกิจประเภทเดียวกัน หลักเกณฑ์ที่ใช้วัดอาจจะเป็นจำนวนพนักงาน ยอดขายหรือทรัพย์สิน
1. การบริหารงานเป็นอิสระ เจ้าของเป็นผู้บริหารงานเอง
2. บุคคลเดียวหรือกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งจัดหาเงินทุนและเป็นเจ้าของธุรกิจ
3. ขอบเขตการดำเนินงานอยู่ในท้องถิ่นเป็นส่วนมาก พนักงานและเจ้าของอาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน แต่ตลาดของสินค้าหรือบริการไม่จำเป็นต้องอยู่ในท้องถิ่นนั้นก็ได้
4. ธุรกิจมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในธุรกิจประเภทเดียวกัน หลักเกณฑ์ที่ใช้วัดอาจจะเป็นจำนวนพนักงาน ยอดขายหรือทรัพย์สิน
. 5. การประกอบการขนาดย่อมมีลักษณะ
2 ประการ
เหมือนอาชีพอิสระ กล่าวคือ เป็นอาชีพที่เจ้าของไม่เป็นลูกจ้าง ไม่รับเงินเดือนจากนายจ้าง แต่ได้รับค่าตอบแทนจากลูกค้า
และเจ้าของกิจการเป็นผู้ลงมือกระทำเองในฐานะผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน 5 คน และใช้ทุนดำเนินการไม่เกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 600,000 บาท
แต่เนื่องจากการทำโครงการครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ผู้มีอายุระหว่าง 13-15 ปี
จึงได้กำหนดคำจำกัดความของอาชีพอิสระในความหมายกว้างว่าอาชีพอิสระหมายถึงอาชีพที่ผู้ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการเองทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยไม่รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะของเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ
และรับผิดชอบต่อการดำเนินงานในทั้งส่วนของกำไร
หรือขาดทุนโดยอาจมีผู้ช่วยปฏิบัติงานหรือไม่ก็ได้
การประกอบอาชีพอิสระ
ความหมาย การประกอบอาชีพอิสระ คือ การประกอบกิจการส่วนตัวต่างๆ ในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นธุรกิจของตนเองไม่ว่ากิจนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม มีอิสระในการกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินงานของตัวเองได้ตามความเหมาะสม ไม่มีเงินเดือนหรือรายได้ที่แน่นอนผลตอบแทนที่ได้รับคือ เงินกำไรจากการลงทุน
2. กำหนดการทำงานเอง
3. รับผิดชอบกิจการเองทั้งหมด
4. สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆอย่างเต็มที่
5. รายได้ไม่จำกัด (ทำมากรวยมาก
ทำน้อยรวยน้อย)
ข้อดีในการประกอบอาชีพอิสระ
1. เป็นเจ้านายของตนเอง
2. กำหนดแนวทางในการทำงานเองได้
3. มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆอย่างเต็มที่
4. รายได้ไม่จำกัด
1. เป็นเจ้านายของตนเอง
2. กำหนดแนวทางในการทำงานเองได้
3. มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆอย่างเต็มที่
4. รายได้ไม่จำกัด
อุปสรรคในการประกอบอาชีพอิสระ
การทำให้เกิดผู้ประกอบการอาชีพอิสระมากขึ้นต้องศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่เป็นอุปสรรคแล้วจึงหาทางแก้ไข
อุปสรรคในการประกอบอาชีพอิสระพอจำแนกได้เป็นอุปสรรคภายนอนและภายใน
อุปสรรคภายใน
ได้แก่ ตัวบุคคล
เช่น ขาดความรู้ที่จะประกอบอาชีพ เรียกว่าทำมาหากินไม่เป็น ขาดการกระตือรือร้นที่จะประกอบอาชีพด้วยตนเอง ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะของผู้ประกอบอาชีพอิสระที่จะประสบความสำเร็จจำเป็นจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1 ต้องเป็นคนที่สามารถทนทำงานหนักได้ทนมากกว่าคนปกติ
2. เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ
3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ได้
4 ในการประกอบกิจการใดๆมักจะตั้งเป้าหมายสูง(แต่สามารถปฏิบัติได้)
5 ไม่เบื่อง่ายไม่ชอบทิ้งอะไรกลางคันเมื่อพบอุปสรรค
6 เห็นคุณค่าของเงิน
7 มีพลังการแก้ปัญหาอย่างไม่เสื่อมคลาย
8 ควรเสี่ยงอย่างมีเหตุผล
9 รู้จักใช้ความผิดแต่หนหลังเป็นบทเรียน
10 รู้จักใช้คำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นให้เป็นประโยชน์
11 มีความคิดริเริ่ม และกล้าที่จะรับผิดชอบต่อความคิดริเริ่มนั้น
12. รู้จักใช้ทรัยพากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประโยชน์มากที่สุด
13. ในการทำงานต้องตั้งเกณฑ์สูงสุกเข้าไว้ และต้องทำให้ได้เสมอ
1 ต้องเป็นคนที่สามารถทนทำงานหนักได้ทนมากกว่าคนปกติ
2. เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ
3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ได้
4 ในการประกอบกิจการใดๆมักจะตั้งเป้าหมายสูง(แต่สามารถปฏิบัติได้)
5 ไม่เบื่อง่ายไม่ชอบทิ้งอะไรกลางคันเมื่อพบอุปสรรค
6 เห็นคุณค่าของเงิน
7 มีพลังการแก้ปัญหาอย่างไม่เสื่อมคลาย
8 ควรเสี่ยงอย่างมีเหตุผล
9 รู้จักใช้ความผิดแต่หนหลังเป็นบทเรียน
10 รู้จักใช้คำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นให้เป็นประโยชน์
11 มีความคิดริเริ่ม และกล้าที่จะรับผิดชอบต่อความคิดริเริ่มนั้น
12. รู้จักใช้ทรัยพากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประโยชน์มากที่สุด
13. ในการทำงานต้องตั้งเกณฑ์สูงสุกเข้าไว้ และต้องทำให้ได้เสมอ
ได้แก่องค์ประกอบที่จะช่วยส่งเสริมอำนวยความสะดวก พื้นฐานของผู้อยากประกอบอาชีพอิสระได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานของการประกอบการ คือ
เงินทุน การตลาด แหล่งวัตถุดิบ
และการแข่งขัน
ประเภทของอาชีพอิสร
คุณสมบัติผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ประเภทของอาชีพอิสระ
ประเภทของอาชีพอิสระ
อาชีพอิสระแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
1 ประเภทการผลิต ผลิตอาหาร ผลิตสิ่งประดิษฐ์ ผลิตของใช้ ฯลฯ
1 ประเภทการผลิต ผลิตอาหาร ผลิตสิ่งประดิษฐ์ ผลิตของใช้ ฯลฯ
2 ประเภทการบริการ เช่น บริการนวด บริการแปลเอกสาร บริการถ่ายเอกสาร บริการซักรีด ฯลฯ
3 ประเภทซื้อมาขายไป ขายเสื้อผ้า ขายอาหารสัตว์ ขายของกินของใช้ ฯลฯ
4 ประเภทการเกษตร เช่น ปลูกผักผลไม้ เลี้ยงสัตว์ ประมง ฯลฯ
ผู้ประกอบอาชีพอิสระควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. กล้าเสี่ยง อาชีพอิสระเป็นการประกอบธุรกิจส่วนตัว จึงต้องมีการลงทุน ในขณะที่ถ้าเป็นลูกจ้างไม่ต้องลงทุนอะไร ซึ่งการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง เพราะไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร ดังนั้น ก่อนที่จะตกลงใจประกอบอาชีพใดจึงต้อง พิจารณา วิเคราะห์ และไตร่ตรองอย่างดีเสียก่อน
2. ความคิดสร้างสรรค์ การประกอบอาชีพอิสระมิได้ยึดติดกับรูปแบบใด เนื่องจากผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องเป็นนายของตนเอง ดังนั้น จึงสามารถทำการปรับปรุงสินค้าหรือบริการได้อย่างมีอิสระ เพื่อการดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไร พลังวิริยะความเพียรในการทำงานให้สำเร็จ ทั้งการลงทุน การผลิต การตลาด ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
3. ความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องมีความเชื่อมั่นในการดำเนินกิจการของตนเองให้อยู่รอด และฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นได้
4. ความอดทน ผู้ประกอบการต้องพร้อมที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและนำมาแก้ไขด้วยความอดทน
5. มีวินัยในตนเอง
6. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ
7. มีความรอบรู้
8. มีมนุษยสัมพันธ์
9. มีความซื่อสัตย์
แปดอาชีพที่น่าสนใจ
ในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ที่จะถึงนี้ประเทศเราจะมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้น ซึ่งอาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association for Southeast Asian Nations) ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
สิบประเทศนี้ได้รวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือเสริมสร้างให้ภูมิภาคมีสันติภาพนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งได้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community: AEC) เพื่อส่งเสริมให้เป็นตลาดและฐานผลิตเดียวที่มีการเคลื่อนย้านสินค้า บริการ และการลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนอย่างเสรีภาพ ทั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายให้เป็นปีที่มีลักษณะของการรวมกลุ่มประเทศเปลี่ยนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงาน จะมีการถ่ายเทแรงงานด้านฝีมือเพื่อให้สามารถทำงานในประเทศสมาชิกง่ายขึ้นใน 8 สาขาอาชีพ คือ
- วิศวกรรม
- การสำรวจ
- สถาปัตยกรรม
- แพทย์
- ทันตแพทย์
- พยาบาล
- บัญชี
- การบริการ/การท่องเที่ยว
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
โสภาพรรณ
อาชีพอิสระในอาเซียน. กรุงเทพฯ: แสงดาว. 2556
296 หน้า
1 . อาชีพอิสระ . / ชื่อเรื่อง